ชีววิทยาคืออะไร

            ชีววิทยาคืออะไร สาระสำคัญ ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาชีวภาพ (Biologicalscience) ที่มีการศึกษาถึงความคิดและเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จนเป็นความรู้ ทฤษฎี และกฎต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตมากมาย แตกแขนง ออกเป็นสาขา วิชาต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อมนุษย์เราจะมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศน์และในโลกของ สิ่งมีชีวิตได้อย่างยืนยาว

            ชีววิทยา (Biology) ชีววิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Biology" ซึ่งรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Bios(ไบออส) หมายถึงสิ่งมีชีวิต (Life) และ Logos(โลกอส) หมายถึงการมีเหตุผล (reasoning) หรือความคิดดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงหมายถึงการศึกษาทางธรรมชาติ และกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผลทำให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและตัวของมนุษย์ที่ร่วมระบบนิเวศเดียวกัน การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติ หรือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 
(Natural of life ) 

            สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างไปจากสิ่งไม่มีชีวิต ดังนี้ (Biology) สิ่งมีชีวิตสืบพันธุ์ได้ การสืบพันธุ์เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่จะให้ลูกหลานดำรงเผ่าพันธุ์ สืบเนื่องต่อไป การ สืบพันธุ์อาจจะสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือโดยไม่อาศัยเพศก็ตาม สามารถถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานที่เกิด ขึ้น หน่วยที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน (gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมภายในนิวเคลียสของเซล ดังนั้น การสืบพันธุ์ เป็นกิจกรรมขั้นสุดยอดของสิ่งมีชีวิต ที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง ให้ยั่งยืนและอยู่รอดในระบบนิเวศ 

            ชีววิทยา จะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ขั้นตอนการศึกษา ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษา (Process) ที่นักชีววิทยาใช้ในการศึกษา เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตามขั้นตอน 
คือ 
  •  การสังเกต 
  • การตั้งปัญหา 
  • การตั้งสมมติฐาน 
  • การตรวจสอบสมติฐาน 
  • การแปลผลและการสรุปผล
วิชาชีววิทยาประกอบด้วยแขนงวิชาต่างๆมากมาย โดยมีหลักการจำแนก 2 ประการ คือ 
        1. จำแนกตามธรรมชาติของสิ่งแวดล้อม 
        2. จำแนกตามวิธีการศึกษาของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ  
นอก
จากนี้แล้วยังแบ่งเป็นแขนงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น 
                2.1 โบราณชีวศาสตร์ (Palcontology) ศึกษาเกี่ยวกับซากเหลือของพืช-สัตว์โบราณ 
                2.2 ปราสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่แย่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น 
                2.3 พยาธิวิทยา (Pathology) ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ อาหาร และสาเหตุของโรคต่าง ๆ
                2.4  เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสาขาหนึ่งของการนำเอาความรู้ทางชีววิทยา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่มนุษย์ต้องการ เช่นด้านการเกษตร ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ด้านอุตสาหกรรม อาหาร เครื่องดื่ม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การนำความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้ 
                        2.1.1 ด้านการเกษตร 
                        2.1.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
                        2.1.3 ด้านอาหารและเครื่องดื่ม 
                        2.1.4 ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 


แขนงต่างๆของวิชาชีววิทยา